แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกะเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้
แมงลักในประเทศไทยนั้น มี หลากหลายยี่ห้อและหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่ยี่ห้อดังยี่ห้อเดียวอย่างที่เข้าใจ ลักษณะพันธุ์ที่ดีใบต้องใหญ่พอดิบพอดี ไม่เล็กจนแคระแกร็น ดอกสีขาวเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร
การใช้ประโยชน์
แมงลัก ใบใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เช่น ห่อหมก แกงเลียง อ่อม แกงคั่ว ขนมจีนน้ำยา พบมากในอาหารอีสาน เมล็ดแชน้ำให้พอง ใช้ทำขนมหรือรับประทานกับน้ำแข็งไส ไอศกรีม ใบมีฤทธิ์ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร เมล็ดช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบาย สกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบไปใช้ในอุตสาหกรรมสบู่และเครื่องสำอาง กิ่งและใบทุบแล้ววางในเล้าไก่ ช่วยไล่ไรตัวเล็กๆได้คุณค่าทางโภชนาการ
แมงลักมีโปรตีน 3.8 กรัมต่อน้ำหนักใบสด 100 กรัม ซึ่งสูงกว่ากะเพราและโหระพา ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย รายงานว่า แมงลัก 1 ขีด มีบีตา-แคโรทีนสูงถึง 590.56 ไมโครกรัม เทียบหน่วยเรตินัล สูงกว่ากะเพราและโหระพา และให้แคลเซียม 140 มิลลิกรัม ส่วนกรมส่งเสริมการเกษตรระบุว่า ใบแมงลักให้พลังงาน 0.032 กิโลแคลอรี่ วิตามินเอ 9,164 หน่วยสากล และวิตามินบี2 ประมาณ 0.14 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยกว่ากะเพราและโหระพา แต่แร่ธาตุอื่นๆ มีสูงกว่า เช่น มีไขมันสูงถึง 0.8 กรัม แป้งมากถึง 11.1 กรัม แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม เหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.30 มิลลิกรัม และวิตามินซี 78 มิลลิกรัมยอดแมงลัก |